วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของชาอู่หลง




ชาอู่หลงมีประโยชน์มากมายต่อร่างกายในหลายด้าน เช่น แก้กระหาย เพิ่มความสดชื่น ต่อต้านแบ็คทีเรียในช่องปาก ป้องกันฟันผุ ป้องกันโรคหัวใจ ลดอาการหอบหืด ขับสารพิษในร่างกาย และอีกมากมายนานัปการ แต่ประโยชน์ที่เรียกว่าเด่นชัดที่สุดน่าจะเป็นการที่ชาอู่หลงมีส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยในการควบคุมความอ้วน ลดปริมาณไขมันในเส้นเลือด และลดระดับคลอเรสเตอรอลได้เป็นอย่างดี เพราะว่า”ชาอู่หลง”ที่ได้ยินชื่อจนคุ้นหูนี้ มีสารประกอบหลักอยู่กลุ่มหนึ่ง ที่เรียกว่า OTPP นั่นเอง
สารประกอบหลัก OTPP ในชาอู่หลง มีคุณสมบัติในการช่วยลดความอ้วนอย่างไร ?
1. ชาอู่หลง ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไลเปส
สารกลุ่ม OTPP ซึ่งเป็นสารประกอบหลักในชาอู่หลงนั้น มีรายงานวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไลเปสจากตับอ่อน ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญที่ช่วยทำให้เกิดการดูดซึมไขมันที่ลำไส้เล็ก โดย OTPP สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ชนิดนี้ได้มากกว่า EGCG ที่เป็นสารออกฤทธิ์หลักในชาเขียว
2. ชาอู่หลง ลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ (อนุภาคไขมันชนิดหนึ่ง)
จากการศึกษาพบว่า OTPP สามารถยับยั้งการดูดซึมไตรกลีเซอร์ไรด์ในระบบน้ำเหลืองและยับยั้งการเพิ่มระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในซีรัมเมื่อบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงได้ นอกจากนี้ ในการศึกษาผลของ OTPP ต่อระดับไตรกลีเซอร์ไรด์หลังการรับประทานอาหารที่มีองค์ประกอบของไขมันสูงโดยให้อาสาสมัครดื่มชาอู่หลงที่มี OTPP เป็นส่วนประกอบในปริมาณสูง วัดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ที่เวลา 3 และ 5 ชั่วโมง พบว่าระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ลดลง
3. ชาอู่หลง ลดการดูดซึมไขมัน
การตรวจวัดระดับไขมันทางอุจจาระเป็นหนึ่งในวิธีการสำคัญที่ใช้ตรวจสอบการดูดซึมไขมันจากอาหารได้ โดยจากการศึกษาวิจัยของ Hsu และคณะ (2006) พบว่าชาอู่หลงที่อุดมด้วยสารโพลีฟีนอลสามารถเพิ่มการขับไขมันทางอุจจาระ เมื่อให้กลุ่มอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงแล้วดื่มชาอูหลง พบว่าอาสาสมัครกลุ่มดังกล่าวมีอัตราการขับไขมันทางอุจจาระเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
4. ชาอู่หลง เพิ่มการเผาผลาญพลังงานในร่างกายมากขึ้น
จากรายงานการวิจัยการทดสอบ “ชาอู่หลง”กับ”ชาเขียว”ต่ออัตราการเผาผลาญพลังงานในอาสาสมัครชาวญี่ปุ่น พบว่าชาอู่หลงที่มีปริมาณ OTPP มากกว่า สามารถเผาผลาญพลังงานได้ดีกว่าชาเขียวถึง 2 เท่าทั้งที่ชาอู่หลงมีปริมาณคาเฟอีนเพียงครึ่งหนึ่งของชาเขียวเท่านั้น และยังไม่พบรายงานผลข้างเคียงที่มีอันตรายต่อผู้บริโภคเนื่องจากการดื่มชาอู่หลงในระยะยาวสรุปได้ว่าการดื่มชาอู่หลงนั้นมีคุณประโยชน์หลายต่อ ทั้งยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไลเปส ลดระดับไตรกรีเซอร์ไรด์ ลดการดูดซึมไขมันและช่วยเพิ่มการขับไขมันทางอุจจาระ ทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญพลังงานมากขึ้น ส่งผลให้ช่วยลดความอ้วนอันเป็นสาเหตุของโรคร้ายต่างๆมากมาย


วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

สมุนไพรใบย่านาง ลดความอ้วน

สมุนไพรใบย่านาง ลดความอ้วน
สมุนไพรใบย่านาง


โรคอ้วน เป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่มีสถิติผู้เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการตามใจ ปาก กินหรือบริโภคแบบไม่บันยะบันยัง เพียงแค่ยึดหลักให้ อร่อยลิ้นเป็นฟาดเรียบจนพุงกาง และปัจจัยอีกอย่างหนึ่งมาจากอาหารที่รับประทานเข้าไปมีไขมันสูง แป้งหรือน้ำตาลเยอะ ผักผลไม้รับประทานน้อย หรือบางคนไม่กินเลย เผลอแผล็บเดียวน้ำหนักเพิ่มขึ้น ตัวอ้วนกลมปุ๊ก คิดจะลดน้ำหนักให้เหลือเท่าเดิมก็สายเกินไป ลดได้ยากแล้ว ถึงตอนนี้โรคต่างๆก็จะตามมา หลายโรค ดังนั้นจึงควรระวังในเรื่องการกิน อย่าได้ตามใจปากอย่างเด็ดขาด

สมุนไพรใบย่านาง 


หากใครเป็นคออาหารอีสานรสแซบแล้วละก็ เป็นต้องคุ้นกับกลิ่นใบย่านางที่เคล้ามากับซุบหน่อไม้และแกงหน่อไม้ที่หอมยั่วน้ำลาย
ใครบางคนว่ากลิ่นสมุนไพรใบย่านางนั้นหอมแต่บางคนก็ว่าฉุนทั้งนี้และทั้งนั้นก็อาจเป็นเพราะขึ้นอยู่กับรสนิยมของคนกินด้วยว่ากลิ่นที่ว่านี้จะถูกกันหรือไม่ แต่หากว่าแกงกับซุบหน่อไม้ไร้ซึ่งน้ำคั้นจากใบย่านางก็เห็นทีจะไม่เป็นซุบหรือแกงที่รสชาติแซบนัว (แปลว่าอร่อยแบบกลมกล่อม – ภาษาอีสาน) เพราะกลิ่นเปรี้ยวกลิ่นขื่นและรสขมของหน่อไม้ทีดองก่อนนำมาทำอาหาร
ย่านาง หรือ TILIACORA TRIANDRA DIELS อยู่ในวงศ์ MENISPERMACEAE เป็นไม้เลื้อย พบขึ้น ตามป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ และป่าโปร่ง ทุกภาค ของประเทศไทย มีสรรพคุณเฉพาะ ทั้งต้นปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ ใบเป็นยาถอนพิษ การช่วยถอนพิษ แก้ไข้และลดความร้อนในร่างกายได้ อีกทั้งยังเป็นพืชที่ให้แคลเซียมและวิตามินซีค่อนข้างสูง และยังให้สารอาหารอื่นๆ เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินเอ วิตามินบี 1 บี 2 และเบต้า-แคโรทีน หากกินทั้งใบก็จะมีเส้นใยมาก  ส่วนรากของสมุนไพรใบย่านางช่วยถอนพิษ แก้ไข้ แก้เมารถ เมาเรือ แก้โรคหัวใจและแก้ลมได้ด้วย ขอแถมให้อีกนิด หากนำน้ำสมุนไพรใบย่านางมาสระผม จะช่วยทำให้ผมดกดำ ชลอผมหงอกได้อีกต่างหาก

สมุนไพรใบย่านาง

ลักษณะทั่วไปของสมุนไพรใบย่านาง

สมุนไพรย่านางนั้นเป็นไม้เลื้อย เถาสีเขียวสดและอวบน้ำ ภายในลำต้นมีน้ำเมือกเหนียว มีขนตามกิ่งอ่อน เถาเมื่อแก่มีผิวเรียบและเหนียวมาก ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้มรูปไข่แกมรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบมัน ออกดอกเล็ก ๆ ตามซอกใบ ดอกมีสีเหลือง ผลมีขนาดเล็กกลมรี

การปลูกและดูแลรักษาสมุนไพรย่านาง

เดิมนั้นเถาย่านางมักขึ้นอยู่เองตามป่า แต่อยากปลุกก็ไม่ยากเพียงแค่เพราะเมล็ดหรือขุดเอารากที่เป็นหัวไปปลูกในที่ใหม่ รดน้ำให้ฉ่ำชุ่ม สักพักเถาย่านางก็จะคลี่กางเลื้อยขึ้นพันค้างที่เตรียมไว้ หรือหากไม่มีค้างก็มักเลื้อยพันต้นไม้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งก็ไม่ถือเป็นเรื่องลำบากยากเย็นสำหรับเถาย่านาง เพราะเดิมนั้นเถาย่านางเป็นไม้ป่าจึงไม่กลัวความลำบากลำบน อดทนเป็นเยี่ยมและเติบโตได้ในทุกสภาพดินและสภาพอากาศทุกฤดูกาล หากอยากได้บรรยากาศเมืองร้อนแลป่าฝนก็ปลูกชมใบสีเขียวก็ดี
สมุนไพรใบย่านาง

สมุนไพรใบย่านางลดความอ้วน

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสมุนไพร มีสูตรใช้ลดความอ้วนมากมายหลายสูตรและสูตร ที่ทำง่ายๆและได้ผลดีได้แก่ วิธีเอา “สมุนไพรย่านาง” ทั้งต้น มีขายตามแผงขายพืชผักพื้นบ้าน ตามตลาดสดทั่วไป เป็นกำ กำละ 5-10 บาท ใช้ทั้งกำล้างน้ำให้สะอาดต้มน้ำท่วมยาจนเดือด ดื่มขณะอุ่น 3 เวลาก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ ครั้งละ 1 แก้ว ต้มกินจนยาจืด ทำกินเรื่อยๆจะช่วยให้น้ำหนักค่อยๆลดลงได้ แต่ไม่ใช่ลดแบบฮวบฮาบ เมื่อน้ำหนักอยู่ ในระดับที่ต้องการแล้ว จะหยุดกินก็ได้ ข้อสำคัญต้องควบคุมอาหารด้วยจะได้ผลดี และเร็ว
แหล่งข้อมูล : panyathai.or.th, kroobannok.com
รูปภาพ : wongnai,travel.truelife.com